สารพฤกษเคมี มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีส่วนช่วยในการต่อต้านหรือป้องกันโรค
สารพฤกษเคมี (Phytochemical) หมายถึง สารประกอบทางเคมีที่พบเฉพาะในพืชหลายชนิดนับไม่ถ้วนในธรรมชาติ สารเคมีกลุ่มนี้ทำให้ผักและผลไม้ มีลักษณะกลิ่น รสชาติเฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สี ในผักและผลไม้ มีฤทธิ์ทางชีวภาพ มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีส่วนช่วยในการต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิด ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยทำให้ผิวมีสุขภาพดี ดูอ่อนเยาว์ ด้วยกลไกที่ออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระนั่นเอง
เป็นความโชคดีของคนไทยที่เมืองไทยมีผลไม้มากมายหลายชนิดให้เลือกทานและยังมีผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศให้เลือกบริโภคอีกมากมาย แต่หากแบ่งตามลักษณะสีผลไม้นั้นๆ ก็จะเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์มากมายมหาศาล ผลไม้หลายประเภทให้ “สารพฤกษเคมี (Phytochemicals)” ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ทาง ชีวภาพที่พบในพืช ทำให้พืชผักและผลไม้ มีสี กลิ่น และรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว พบมากในกลุ่มผลไม้ 5 สี ที่ให้สารพฤกษเคมีเพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้แตกต่างกัน และหากยังมีข้อสงสัยว่า สารพฤกษเคมี คืออะไร? ลองอ่านทำความเข้าใจดูก่อน
สารพฤกษเคมี สาร 5 สี ช่วยร่างกายต้านโรคร้ายได้อย่างไร ?
ปัจจุบันพบสารพฤกษเคมีแล้วมากกว่า 15,000 ชนิด และผลไม้แต่ละชนิดมีสารพฤกษเคมีที่แตกต่างกันออกไป ผลไม้ถูกแบ่งกลุ่มสี ออกแต่ละสี มีสารสีทีมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป บางชนิดเป็นการต่อต้าน บางชนิดเป็นการซ่อมแซม บางชนิดเป็นการป้องกัน
- ผลไม้สีแดง / สีชมพูอมม่วง มีสารไลโคปีน (Lycopene) และบีทาเลน(Betalain) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง และทำให้หัวใจแข็งแรง พบได้ใน เชอร์รี่ แตงโม แอปเปิ้ล มะเขือเทศ แก้วมังกรเนื้อชมพู บีทรูท ตะขบ สตรอเบอร์รี่ ฝรั่ง และมะละกอเนื้อแดง นอกจากนี้ยังมีสารเค็บไซซินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง และช่วยลดปริมาณไขมันตัวร้ายในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ช่วยลดการเจ็บป่วย และ เพิ่มการเผาผลาญไขมัน
- ผลไม้สีเขียว นอกจากมีสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)แล้ว ยังมีสารลูทีน (Lutin) ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง และลดการเสื่อมของจอประสาทตา ผลไม้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ฝรั่ง อะโวคาโด แก้วมังกร น้อยหน่า แตงไทย องุ่นเขียว ชมพู่เขียว แอปเปิลเขียว และมะกอกน้ำ นอกจากสารคลอโรฟิลล์แล้ว ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ซีแซนทีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามินบี 2 ที่ช่วยในการเผาผลาญอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตวยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคและช่วยเร่ง กำจัดฤทธิ์สารก่อมะเร็ง
- ผลไม้สีน้ำเงิน / สีม่วง มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin)และกลุ่มโพลิพีนอล (Polyphenol)ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันมะเร็งและไขมันอุดตันในหลอดเลือดชะลอความเสื่อมของเซลล์ และช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์และดวงตา ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจอัมพาต ผลไม้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ องุ่นแดง องุ่นม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว ลูกหว้า ลูกไหน และลูกพรุน
- ผลไม้สีขาว / สีน้ำตาล มีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) หลายชนิดต้านอนุมูลอิสระ ลดการแบ่งตัวเซลล์มะเร็ง ต้านการอักเสบ ลดการปวดข้อเข่า พบมากในเนื้อและเปลือกมังคุด ฝรั่ง แอปเปิล แก้วมังกรเนื้อขาว เเละผลไม้อื่นๆ เช่นกล้วย พุทรา ลางสาด ลองกอง เงาะ ลิ้นจี่ และยังมีมีสารอัลลิซิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก ช่วยกระตุ้นเอนไซม์ในการทำลายพิษช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
- ผลไม้สีเหลือง / สีส้ม มีสารเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) สูงช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยต้านการอักเสบ และเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน พบมากในมะม่วงสุก มะละกอสุก กล้วย แคนตาลูปสีเหลือง สับปะรด อีก และสารฟลาโวนอยส์ มีบทบาทช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก ช่วยป้องกันผิวที่อาจเกิดจากอันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากับแสงแดดได้ จึงทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ไม่มีริ้วรอยแก่ก่อนวัย แลดูสดใสอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสภาพปกติของเซลล์เยื่อบุตาขาว กระจก ตา ช่องปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ รวมถึงทางเดินปัสสาวะให้เป็นปกติ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย
เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้าย อาหารอย่าให้ขาด และ ผลไม้ก็ไม่ควรพลาด ทานให้หลากหลาย ทานผลไม้ 5 สี ได้ในวันเดียวยิ่งดี
ที่มาข้อมูล: เว็บไซต์สารานุกรมเสรี วิกิพีเดียไทย